เพื่อประโยชน์และความสุขในปัจจุบันและอนาคต
ครั้งหนึ่งในการเดินทางไปหลวงพระบาง เส้นทางจากวังเวียงมายังนครหลวงเวียงจันทน์ไม่ค่อยสะดวกนักคดเคี้ยวเลี้ยวลด รถยนต์โดยสารจึงวิ่งเร็วไม่ได้ค่อยๆวิ่งผ่านหมู่บ้านส่วนหนึ่งเป็นชนเผ่าที่ทำมาหากินตามป่า ภูเขาเท่าที่พอจะหาได้ บางคนเก็บของป่ามาวางขายตามข้างถนน เป็นประเภทผัก ผลไม้เท่าที่พอจะหาได้ ชีวิตอยู่อย่างเรียบง่าย พออยู่พอกิน วิถีชีวิตแบบนี้ดูแล้วมีความสุขเรียบง่ายไม่ต้องวุ่นวายกับสังคมและชาวโลกมากนัก โลกนี้ยังมีสถานที่ที่สวยงามให้ได้สัมผัส
โบราณสถานโบราณวัตถุคุณค่าจากบรรพชน
ในยุคที่ความเจริญทางเทคโนโลยีดำเนินไปอย่างไม่มีวันจบสิ้น เครื่องใช้บางอย่างซื้อมาได้เพียงไม่กี่เดือนก็เริ่มจะกลายเป็นของเก่า เพราะมีสินค้ารุ่นใหม่ออกมาแทนที่ อย่างเช่นโทรศัพท์พึ่งซื้อมาใช้งานได้เพียงไม่กี่เดือนก็มีรุ่นใหม่ออกมาแทนที่แล้ว ทั้งๆที่เครื่องเก่าก็ยังพอใช้งานได้ แต่กลับกลายเป็นสิ่งที่กำลังล้าสมัย ในขณะที่สิ่งของบางอย่างยิ่งมีอายุมาก ยิ่งเก่าแก่มากเท่าไหร่กลับยิ่งมีคุณค่า เชนโบราณวัตถุ โบราณสถานเป็นต้นยิ่งเก่ายิ่งมีคุณค่า บางอย่างประเมินค่ามิได้ ช่วงนี้พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พระนคร ได้จัดนิทรรศการแสดงโบราณวัตถุขึ้น ระหว่างเดือนธันวาคม 2560 -เดือนมีนาคม 2561 มีการจัดแสดงนิทรรศการวิถีแห่งศรัทธาจากศิลป์ทัศน์ญี่ปุ่น เป็นงานที่น่าสนใจ
โลกหมุนไปตามธรรม ธรรมหมุนไปตามโลก
เป็นเช้าที่อากาศหนาวเย็น หยดน้ำค้างยังทรงตัวอยู่ตามยอดหญ้า พื้นดินเปียกชุ่ม พอเท้าเปล่าสัมผัสพื้นจึงเหมือนกับได้สัมผัสกับโลก ได้อยู่กับดิน พื้นดินยังชื้นด้วยหยดน้ำค้างหลังค่ำคืนที่เหน็บหนาว จึงถอดรองเท้าเดินตีนเปล่าเดินเล่นไปตามเชิงเขา มองเห็นแสงสีทองกำลังทอประกายเหนือทิวเขา ณ ขอบฟ้าเบื้องบุรพทิศ รัศมีแสงสีทองเรื่อเรืองมาก่อนดวงอาทิตย์จะโผล่พ้นขอบฟ้า ในขณะที่ต้นไม้ใบหญ้ากำลังชูดอกออกใบทักทายแสงแห่งทิวาวาร เริ่มต้นของวันด้วยสุนทรียะแห่งสีสันของธรรมชาติ เสียงนกร้องระงมไพร บางตัวบินว่อนเพื่อหาอาหาร ฝูงมดดำมดแดงที่แฝงตัวอยู่ตามยอดอ่อนของต้นไม้ เริ่มขยับตัวเคลื่อนไหวตื่นจากความหลับ
การสร้างกุศลจริยาเพื่อพัฒนาสังคมแห่งการตื่นรู้ตามแนวพระพุทธศาสนามหายาน
การสร้างกุศลจริยาเพื่อพัฒนาสังคมแห่งการตื่นรู้ตามแนวพระพุทธศาสนามหายาน
Charity building for the development of a society of awakening according to Mahayana Buddhism.
นายภูริทัต ศรีอร่าม
บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการสร้างกุศลจริยาเพื่อพัฒนาสังคมแห่งการตื่นรู้ตามแนวคัมภีร์มหาสุขาวดีวยูหสูตร, เพื่อวิเคราะห์การสร้างกุศลจริยาเพื่อพัฒนาสังคมแห่งการตื่นรู้ตามแนวพระพุทธศาสนามหายาน โดยมีขอบเขตในการศึกษาด้วยเอกสารปฐมภูมิจากพระไตรปิฎกและข้อมูลทุติยภูมิจากเอกสารอื่นๆ
ผลการศึกษาพบว่า นิกายสุขาวดี (Pure Land) หรือนิกายชิง-ถู่ (Ching T’u) ได้รับการถ่ายทอดสืบต่อกันลงมาโดยผ่านทางอาจารย์ฝ่ายมหายานชาวอินเดียที่มีชื่อเสียงคือ นาคารชุน (Nagajuna) และวสุพันธุ (Vasubandh) พระสูตรที่สำคัญของพุทธศาสนานิกาย ชิง-ถู่ ได้แก่ "สุขาวดีวยูหสูตร" (Sukhavativyuha Sutra) ซึ่งเป็นหนึ่งในสูตรสําคัญของนิกายมหายานสํานักสุขาวดี และเป็นหนึ่งใน 5 คัมภีร์หลักของสํานักนี้ ที่ภายในกล่าวถึงบุพชาติของพระอมิตาภอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า (อีกพระนามคือ อมิตายุสะ) เมื่อเสวยพระชาติเป็นภิกษุชื่อธรรมกรแล้วได้ประกาศปณิธานที่ยิงใหญ่เพื่อโปรดสรรพสัตว์ไว้ 48 ประการ รายละเอียดของปณิธานเหล่านี้มีความสำคัญต่อสำนักสุขาวดีมาก และเป็นที่มาของศรัทธาในหมู่ชนทุกยุคทุกสมัย, พุทธศาสนานิกายสุขาวดีมีคติความเชื่อคล้ายกับศาสนาที่เชื่อในเรื่องพระเจ้า พระพุทธเจ้าอมิตาภะ (Amitabha) ทำหน้าที่คล้ายกับพระผู้เป็นเจ้าที่คอยสอดส่องดูแลโลก และให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ที่ได้รับความทุกข์ยากทั้งหลาย พระองค์จะทรงนำผู้ที่มีความเชื่อมั่นศรัทธาอย่างแท้จริงต่อพระองค์ไปสู่ดินแดนแห่งความสุขอันแท้จริงและนิรันดรซึ่งเรียกกันว่า "สุขาวดี" (Sukhavati) สิ่งจำเป็นเพื่อให้มีความเชื่อมั่นศรัทธาและอุทิศชีวิตต่อพระพุทธจ้าอมิตาภะ, ลักษณะคำสอนใช้หลักศรัทธา มีการตีความในธรรรมาธิษฐานว่า พระพุทธเจ้าอมิตาภะเป็นธรรมชาติของความเป็นพุทธะ พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์เป็นความเมตตากรุณาและพระมหาสถามปราปต์โพธิสัตว์เป็นสติปัญญา ซึ่งมีอยู่แล้วในตัวคนทุกคน ส่วนสุขาวดีหมายถึงสภาพของความสิ้นทุกข์, ตามที่นิกายสุขาวดีมีหลักแห่งกุศลจริยามีความกตัญญูเป็นต้น มีศีล ศรัทธาในพระรัตนตรัย ปัญญาจากการเรียนรู้พระสูตรและความมุ่งมั่นในกุศลทำจิตให้ผ่องใสในวาระสุดท้ายเพื่อไปเกิดในสุขาวดีพุทธเกษตรตามทัศนะแห่งนิกายสุขาวดี ทำให้ได้แนวทางการสร้างกุศลจริยาเพื่อพัฒนาสังคมแห่งการตื่นรู้ ดังนี้ 1) มีความกตัญญูเลี้ยงดูผู้มีพระคุณและมีจิตใจเมตตากรุณาต่อโลก 2) รักษาศีลห้า ศีลอุโบสถและกุศลกรรมบถ 10 3) ศรัทธา ในพระรัตนตรัยและเชื่อในกฎแห่งกรรม 4) บำเพ็ญบารมี 6 ตามแนวทางของพระโพธิสัตว์ 5) ศึกษาเรียนรู้ แตกฉานหลักธรรม 6) มีสัจจะและอธิษฐานตั้งใจทำความดี 7) มีความไม่ประมาท ทำความดีให้ถึงพร้อม มีจิตผ่องใส มีใจไม่เศร้าหมองในวาระสุดท้ายแห่งชีวิต
คำสำคัญ : กุศลจริยา, สังคมแห่งการตื่นรู้, พระพุทธศาสนามหายาน