บทความแนวคิดวัฒนธรรมการเมือง

ความหมายของวัฒนธรรม
 วัฒนธรรม ( Culture  )  เป็นคำที่มีความหมายกว้างขวางและครอบคลุมจึงมีผู้ให้ ความหมายไว้มากมากแตกต่างกันไป  เช่น  ไคลด์  คลักคอน   ( Clyde  Kluckhohn )  นัก มานุษยวิทยาได้รวบรวมความหมายในแง่ต่าง ๆ  ของวัฒนธรรมมีความยาวถึง  ๒๗  หน้า  ใน ทัศนะของนักมานุษยวิทยาวัฒนธรรมประกอบไปด้วยรูปแบบของพฤติกรรม  ทั้งที่แฝงเร้นและเห็นได้ชัดเจน  ได้รับมาและถ่ายทอดออกไปโดยผ่านสัญลักษณ์ประกอบกันขึ้นเป็นความสำเร็จเฉพาะตัวของคนกลุ่มต่าง ๆ  ทั้งนี้รวมทั้งที่ผลิตออกมาในรูปแบบประดิษฐ์กรรมทั้งหลาย

อ่านเพิ่มเติม: บทความแนวคิดวัฒนธรรมการเมือง

...เป้าหมาย...

...เป้าหมาย...

คำว่าคนนั้น ถ้าเรียกตามภาษาที่เป็นรากฐานของภาษาไทย คือภาษา มคธ หรือภาษาบาลี เรียกว่า “มนุส” แต่เราเขียนกันแบบสันนกฤต เป็น “มนุษย์” คำว่ามนุษย์ เป็นคำสองคำมารวมกัน คือ มโนกับอุสสยะ มโน แปลว่า ใจ อุสสยะ แปลว่า สูง รวมกันเป็นมนุษย์ให้ความหมายว่า ผู้มีใจสูง พอเป็นมนุษย์ก็แตกต่างจากคนทันที รู้สึกว่าสูงกว่าคนทันที แต่ความเป็นมนุษย์นั้นสูงเพียงเพราะภาษาอย่างนั้นหรือ นั่นก็เปล่า แต่สูงเพราะความคิด คำพูด และการกระทำ  คิดพูดทำที่ประกอบด้วยปัญญา ประกอบด้วยความวิริยะอุตตสาหะเพื่อนำไปสู่ เป้าหมาย

อ่านเพิ่มเติม: ...เป้าหมาย...

ปลูกฝังไตรสิกขาเยาวชนไทยในศตวรรษที่ ๒๑

 
 ความเปลี่ยนแปลงของสังคม เศรษฐกิจ การเมือง เทคโนโลยีสารสนเทศในโลกเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วทำให้แต่ละประเทศต้องร่วมมือกันโดยการติดต่อสื่อสารในภารกิจ และการแก้ปัญหาต่างๆ ร่วมกัน ในขณะเดียวกันโลกในปัจจุบันก็เต็มไปด้วยข้อมูลข่าวสารที่สลับซับซ้อน เราต้องร่วมมือกันรับปัญหา เพื่อการปรับตัวให้ก้าวทันกับสิ่งแวดล้อมและเหตุการณ์ในสังคมที่เปลี่ยนแปลงทุกขณะ สิ่งเหล่านี้นำไปสู่การแข่งขันทางเศรษฐกิจการค้าและอุตสาหกรรมระหว่างประเทศอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้  ทำให้ในหลายประเทศทั่วโลกจะต้องปรับปรุงระบบการศึกษาเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงและการแข่งขันนั้นเพื่อตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานของประชาชน

อ่านเพิ่มเติม: ปลูกฝังไตรสิกขาเยาวชนไทยในศตวรรษที่ ๒๑

ชีวิตคืออะไร ?

  บทนำ การดำเนินชีวิตของมนุษย์จากอดีตถึงปัจจุบันและต่อไปในอนาคตนั้นไม่อาจปฏิเสธได้ว่าความทุกข์ของชีวิตเป็นเหตุการณ์ที่อยู่เบื้องหลังของชีวิต กล่าวคือ ความแก่ ความเจ็บ และความตาย มีความเกี่ยวข้องกับมนุษย์อย่างใกล้ชิดที่สุด  สิ่งนั้นคือรูปและนามเพื่อทำให้ทราบถึงความสัมพันธ์กันระหว่างขันธ์แต่ละขันธ์ที่จะนำไปสู่การฝึกฝนอบรมจิตให้รู้เท่าทันต่อสภาวะธรรมทั้งหลายเพื่อที่จะเรียนรู้สามารถตัดรอนขบวนการเกิดสุขและการดับของทุกข์ซึ่งมีผัสสะเป็นแดนเกิดระหว่างอายตนะภายนอกและภายในที่เชื่อมต่อกันระหว่างขันธ์จนทำให้เกิดเป็นความรู้ขึ้นที่เรียกว่าวิญญาณขันธ์อันเป็นต้นตอของปัญหาทั้งปวงที่ทำให้มนุษย์หลงยึดถือว่าเป็นตัวตนจนเกิดเป็นอุปาทานขันธ์ พุทธปรัชญาได้เน้นให้เห็นว่าชีวิตมนุษย์มีองค์ประกอบอยู่สองส่วนนั้นคือ รูปและนาม  โดยตัวสภาวธรรมจริง ๆ แล้วไม่มีตัวตน มีแต่สภาวะที่ไร้รูปนาม เป็นเพียงพลังงานศักดิ์เป็น ขันธ์ปรมัตถ์คือ อนัตตา การเกิดขึ้นและดับไปของขันธ์ห้ามีลักษณะที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา  การศึกษาถึงเหตุปัจจัยที่ทำให้ทราบถึงระบบร่างกายมนุษย์ ขันธ์เป็นตัวปิดบังความจริงเอาไว้หรือว่ามนุษย์ไม่สนใจที่จะศึกษาในเรื่องเหล่านี้จึงทำให้อำนาจของอวิชชาเป็นตัวชี้นำชีวิตมนุษย์ให้เดินไปตามอำนาจของกิเลสตัณหาและอุปาทานขันธ์จนเป็นความทุกข์  ความยึดถือขันธ์ห้าเป็นอัตตานั้นจะทำให้มนุษย์เกิดความทุกข์

อ่านเพิ่มเติม: ชีวิตคืออะไร ?

กฎความจริงของธรรมชาติ

 

           ปฏิจจสมุปบาท เป็นธรรมะ : กฎธรรมชาติ วิทยาศาสตร์ เป็นองค์ความรู้เกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ ในธรรมชาติที่ได้ผ่านการสังเกต การทดลอง ทดสอบ และวิเคราะห์ถึงความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งต่าง ๆ ซึ่งมีปัจจัยเกี่ยวข้องเป็นเหตุเป็นผลซึ่งกันและกัน และพิสูจน์จนยอมรับว่าถูกต้องเป็นจริงตามหลักธรรมชาติ จึงเป็นศาสตร์ที่ชี้ให้ผู้ศึกษาได้รู้ถึงความเป็นจริงของธรรมชาติ อันได้แก่ มัชเฌนธรรม ว่าด้วยการเกิดขึ้นแห่งพระตถาคต คถาคตเกิดขึ้นก็ตาม ไม่เกิดขึ้นก็ตาม ธาตุนั้นคือความตั้งอยู่แห่งธรรม ความเป็นไปตามธรรมดาก็ตั้งอยู่อย่างนั้น

อ่านเพิ่มเติม: กฎความจริงของธรรมชาติ