กรรมในทัศนะพุทธปรัชญา

กรรมในทัศนะพุทธปรัชญา



               บทความนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาเรื่องกรรมในพุทธปรัชญา เถรวาท ๒) เพื่อศึกษาเรื่องการเกิดกรรมในพุทธปรัชญาเถรวาท ๓) เพื่อศึกษาความมีอยู่ของกรรมในแง่อภิปรัชญา ผลการศึกษา กรรมในพุทธปรัชญาเถรวาท พบว่า การกระทาทั้งในทางที่ดีหรือทางที่ไม่ดี ถ้าเป็นกรรมดีเรียกว่า กุศลกรรม และกรรมไม่ดี เรียกว่า อกุศลกรรม
            ประเภทของกรรม กล่าวไว้โดยละเอียดมี ๑๒ ประการ แต่ถ้ากล่าวโดยหลักใหญ่ มี ๓ ประการ คือ (๑) กรรมให้ผลตามหน้าที่ (๒) กรรมให้ผลก่อนหรือหลัง (๓) กรรมให้ผลตามระยะเวลา ส่วนให้ผลของกรรม มี ๒ ระดับ คือ (๑) ผลชั้นใน หมายถึง จิตใจ (๒) ผลชั้นนอก หมายถึง ลาภ ยศ สรรเสริญเสื่ลาภ เสื่อมยศ นินทา เป็นต้น และการสิ้นกรรม คือ การที่บุคคลนั้นหมดกิเลส
            การเกิดกรรมในพุทธปรัชญา พบว่า การเกิดกรรมนั้นมีพื้นฐานมาจากกิเลส และการแสดงออกทางกาย วาจา และใจ มีทั้งกรรมดีและกรรมชั่ว และส่วนหนึ่งเกิดจากผัสสะ ในทางพุทธศาสนา เรียกว่า กรรม ๓ ได้แก่ กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม ในส่วนเกณฑ์การตัดสินกรรมในพุทธปรัชญาให้พิจารณาที่เจตนาที่เกิดจากกุศลมูลและอกุศลมูล เป็นสิ่งสาคัญที่สุดความมีอยู่ของกรรมในแง่อภิปรัชญา พบว่า อภิปรัชญาได้กล่าวถึงสัจจะ ๒ อย่าง คือ สมมติสัจจะ และปรมัตถสัจจะ ได้อธิบายถึง ความจริงแท้ ดังนั้น กรรมจะมีอยู่อย่างไรขึ้นอยู่กับจิต เจตสิก รูป และนิพพาน ใครทำกรรมอย่างใดก็รับกรรมอย่างนั้น เมื่อกรรมเกิดขึ้น สุดท้ายกรรมก็ดับด้วยเหตุปัจจัยของการเกิดกรรมนั้นเสมอ

          ดังนั้นความมีอยู่ของกรรมในแง่อภิปรัชญานั้น มีสาเหตุมาจากกิเลส จึงทำให้บุคคลทำกรรม เมื่อทำกรรมแล้วก็ได้รับผลกรรม ที่เรียกว่า วิบากกรรม แต่กรรมก็ตกอยู่ภายใต้กฎของ ไตรลักษณ์ คือ กรรมนั้นมีสาเหตุให้เกิดกรรม กรรมนั้นก็จะดับไป เพราะเหตุแห่งกรรมนั้น จึงทำให้สรุปได้ว่า กรรมเป็นทั้งสมมติสัจจะ และปรมัตถสัจจะ ขึ้นอยู่กับจิตของบุคคลนั้นเป็นสำคัญ

อ้างอิง
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙.

จ่าสิบเอกอนุชิต กิ่งนรา